เมนู

พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า ถ้าฉะนั้น เงาคนก็ไม่มี
พระนาคเสนองค์อรหาธิบดีจึงอุปมาต่อไปว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร
มหิศราธิบดี ถ้ากระจกมี แสดงสุริยรังสีมี คนก็ส่องเข้า เงาในกระจกจะมีหรือหามิได้ นะ
บพิตรพระราชสมภาร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ถ้าฉะนั้นแล้ว เงาก็มีนั้นซิ พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนถวายพระพรว่า ฉันใดเล่า สังขารบางเหล่าที่ไม่มีก็มีขึ้น มีครุวนาดุจกระ
จกไม่มีก็มีขึ้น มีคนส่องเข้า เงาก็มีนั้น ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีได้ทรงฟังพระนาคเสนอุปมาดังนั้น ท้าวเธอก็มี
พระทัยโสมนัสปรีดา มีพระราชโองการตรัสว่า กลฺโลสิ สธุสะพระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาอุปมานี้
สมควรแก่ปัญหา ในกาลบัดนี้
ภวันตานัง สังขารานัง ชานนปัญหา คำรบ 5 จบเท่านี้

วทคูปัญหา ที่ 6

ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามอรรถปัญหาอื่นต่อ
ไปอีกเล่าว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยปรีชา ปัญหานี้โยมสงสัยอยู่
สภาวะอย่างไรเรียกว่าเวทคู
พระนาคเสนผู้วิเศษ จึงย้อนถามว่า มหาบพิตรสังเกตสภาวะอันใดกำหนดว่าเป็นเวทคู
อ้อ โยมสังเกตว่าสัตว์บรรดาที่มีชีวิตอยู่นี้ แลดูรูปด้วยจักขุ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วย
จมูก รู้รสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะอันอ่อนและกระด้างด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยน้ำใจ นี่แหละ
เรียกว่าเวทคู จะเปรียบให้พระผู้เป็นเจ้าฟัง ยถา มยํ เหมือนหนึ่งว่าเราอยู่ในปราสาทปรารถนา
จะดูสิ่งไร ก็เปิดหน้าพระแกลแลไป หน้าพระแกลเปิดไว้ทั้งทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก
ทิศตะวันตกนั้น ครั้นปรารถนาจะดูโดยช่องพระแกล ก็แลไปในทิศเหนือหรือทิศใต้ทิศตะวันตก
ทิศตะวันออกประการใด ก็เห็นไปสมปรารถนา ยถา มีครุวนาฉันใด สภาวะที่มีชีวิตจิตใจอยู่จะดู
รูปด้วยจักขุทั้งสอง จะฟังเสียงด้วยหูทั้งสองข้าง จะดมกลิ่นต่าง ๆ ด้วยนาสา จะบริโภคด้วย